วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

เรียนรู้ศาสนาวันละเรื่องก็ยังดี

การพูดดีในศาสนาอิสลาม
ท่านนบี  ได้กล่าวว่า
ผู้ใดศรัทธาต่ออัลลอฮฺและศรัทธาต่อวันสุดท้าย เขาก็จงพูดในสิ่งที่ดี 
 หรือไม่ก็เงียบเสีย
(หะดีษ ศอหี้ห บันทึกโดย บุคอรีย์ และมุสลิม)
        อัลลอฮฺ  ได้ทรงสั่งใช้ แก่ผู้ศรัทธาว่า
และจงพูดจาแก่เพื่อนมนุษย์อย่างดี
(อัลบากอเราะฮฺ : 83)
            และพระองค์ ทรงเปรียบเทียบคำพูดที่ดี ว่า
อุปมาคำพูดที่ดีดั่งต้นไม้ที่ดี รากของมันฝังแน่นลึกมั่นคงและกิ่งก้านของมันชูขึ้นไปในท้องฟ้า ผลของมันจะออกมาทุกกาลเวลา
(อิบรอฮีม : 24-25)
        และทรงเปรียบเทียบคำพูดที่เลวว่า
และอุปมาคำพูดที่เลว ดั่งต้นไม้ที่อับเฉาถูกถอนราออกจากพื้นดิน
มันไม่มีความมั่นคงเลย
(อิบรอฮีม : 26)
ท่านอิมามนาวาวีย์  ได้กล่าวว่า
เมื่อเขาต้องการพูด เขาจะต้องพูดในสิ่งที่ดี และเขาก็มั่นใจว่าเขาจะได้รับการตอบแทนจากคำพูดเหล่านั้น หรือพูดในสิ่งที่จำเป็นต้องพูดเท่านั้น
             เนื่องจากทุกๆคำพูดที่พูดออกมานั้น ย่อมมีผู้จดบันทึกคอยบันทึกอยู่ อัลลอฮ http://www.islammore.com/images/aticle-edu/azzavayallaa.jpg ทรงตรัสว่า
ไม่มีคำพูดคำใดที่เขากล่าวออกมา เว้นแต่ใกล้ ๆ เขานั้นมี (มะลัก) ผู้เฝ้าติดตาม ผู้เตรียมพร้อม (ที่จะบันทึก)
(ก็อฟ : 18)

สู่การพูดในสิ่งที่ดี
1.การพูดเพื่อการเรียกร้องไปสู่อัลลอฮฺ 
อัลลอฮฺ ทรงตรัสว่า
และผู้ใดเล่าจะมีคำพูดที่ดีเลิศยิ่งไปกว่าผู้เชิญชวนไปสู่อัลลอฮฺ
(อัลฟุศศิลัต : 33)
2.ให้สลามซึ่งกันและกัน
ท่านนบี  ได้กล่าวว่า
ขอสาบานกับผู้ที่ชีวิตฉันอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ว่า พวกท่านจะไม่เข้าสวรรค์จนกว่าพวกท่านจะศรัทธา
 และพวกท่านจะไม่ศรัทธาจนกว่าพวกท่านจะรักกัน
พวกท่านจะเอาไหม หากฉันจะบอกวิธีหนึ่งที่เมื่อพวกท่านปฏิบัติแล้ว พวกท่านก็จะรักใคร่ซึ่งกันและกัน ?
จงแพร่สลามในหมู่พวกท่าน
 (หะดีษศอหี้ห บันทึกโดยมุสลิม )
3.พูดในเรื่องของอัลกุรอาน และอ่านอัลกุรอาน
ท่านนบี  ได้กล่าวว่า
 พวกท่านทั้งหลายจงอ่านอัลกุรอานเถิด
เพราะแท้จริงในวันกิยามะฮ์มันจะคอย
ให้ความช่วยเหลือแก่มิตรสหาย(คือผู้ที่อ่านมัน)
(หะดีษศอหี้ห บันทึกโดยมุสลิม)


4.พูดในเรื่องของอัลหะดีษ
ท่านนบี  ได้กล่าวว่า
จงเอาจากฉันไปเผยแผ่ แม้เป็นเพียงแค่หนึ่งอายะฮฺก็ตามที
(หะดีษศอหี้ห บันทึกโดยบุคอรีย์)

5.ตักเตือนซึ่งกันและกันในเรื่องของความดีงาม
          ท่านนบี  ได้กล่าวว่า
ศาสนาคือการตักเตือนซึ่งกันและกัน
(หะดีษ ศอหี้ห บันทึกโดยมุสลิม)

6.ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน
ท่านนบี  ได้กล่าวว่า
เปรียบเทียบบรรดาผู้ศรัทธาในด้านความรัก
ความเอ็นดูเมตตา
 และการให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลของพวกเรา
ที่มีต่อกันนั้นเหมือนกับร่างกาย
คือ เมื่ออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งเจ็บปวด
อวัยวะส่วนอื่นๆของร่างกาย
ก็จะเจ็บปวดไปด้วย
(หะดีษศอหี้ห บันทึกโดยบุคอรีย์ และมุสลิม)

 จาก http://www.islammore.com/view/2679

วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558

สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง 

แต่ถ้าพลาดหลาย ๆครั้ง ในเรื่องเดียวกัน 

เค้าเรียกว่าโง่ดักดาน

วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2558

จากช่างไฟ ใจดี ซ่อมได้ทุกอย่างที่พี่น้องต้องการ 

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2558

DIGITAL TECNOLOGY

DIGITAL TECHNOLOGY



DIGITAL TECHNOLOGY. American engineers began developing digital technology in the mid-twentieth century. Their techniques were based on mathematical concepts suggested by the seventeenth-century German mathematician, Gottfried Wilhelm Leibniz, who proposed a binary computing system. His innovation inspired such numerical codes as American Standard Code for Information Interchange (ASCII) that described objects with digits.
Digital technology is a base two process. Digitized information is recorded in binary code of combinations of the digits 0 and 1, also called bits, which represent words and images. Digital technology enables immense amounts of information to be compressed on small storage devices that can be easily preserved and transported. Digitization also quickens data transmission speeds. Digital technology has transformed how people communicate, learn, and work.
Telecommunications has relied on digital methods to transmit messages. In the early 1980s, enhanced fiber optics enabled the development of digital communication networks. Digital technology replaced analog signals for many telecommunication forms, particularly cellular telephone and cable systems. Analog-to-digital converters utilized pulse code modulation (PCM) to change analog data into digital signals. Compared to analog transmissions, digitized signals were less distorted and could easily be duplicated.
In 1998, commercial digital television broadcasts premiered in the United States. Communication satellites known as direct broadcast satellite (DBS) transmitted compressed digital signals for viewers to receive several hundred television programming choices. Other forms of digital information, including audio programs, were sent to subscribers via satellite. The Federal Communications Commission ordered all American broadcasts to be digital by 2010.
Digital printing with electrophotographic and formatted data technologies have altered how books and magazines are published. The Library of Congress National Digital Library Project has worked to preserve and expand access to rare items. Copyright issues concerning digital technology have addressed the copying of music and videos without performers receiving royalties.
The Electronic Numerical Integrator, and Calculator (ENIAC) was often credited as the first electronic digital computer. A 1973 court ruling on patent infringement declared John V. Atanasoff and Clifford E. Berry were the digital computer's inventors and that the ENIAC had been derived from their design.
In the early 2000s, digital computers ranging from laptops to Internet networks came in many sizes and performed various tasks. Supercomputers performed complex mathematical calculations analyzing vast amounts of data. The Digital Data Broadcast System (DDBS) guided air-traffic control. Digital radiography converted analog signals of x-rays to create digital images. Digital information was stored on plastic disks with pitted patterns of 1s and 0s that lasers translated. By the early 2000s, digital cameras had transformed photography by recording color and light intensities with pixels. Also, digital compression of images and video was achieved by Joint Photographic Experts Group (JPEG) and the Moving Picture Experts Group (MPEG) codes. Animation had often been digitized with some films and cartoons being created entirely with computers.
http://www.encyclopedia.com/doc/1G2-3401801216.html








วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2558

โรงเรียนรักษ์ดีติวเตอร์

                      คำสอนของพ่อแม่

" พ่อแม่ไม่มี เงินทอง จะกองให้
        จงตั้งใจ พากเพียร เรียนหนังสือ
             หาวิชา ความรู้ เป็นคู่มือ    
                 เพื่อยึดถือ เอาไว้ ใช้เลี้ยงกาย
  


                        พ่อกับแม่ มีแต่ จะแก่เฒ่า
                                จะเลี้ยงเจ้า เรื่อยไป นั้นอย่าหมาย
                                        ใช้วิชา ช่วยตน ไปจนตาย
                                                   เจ้าสบาย แม่กับพ่อ ก็ชื่นใจ"


จดหมายถึงลูก


พ่อแม่ไม่มี  เงินทอง  จะกองให้
จงตั้งใจ   พากเพียร   เรียนหนังสือ
หาวิชา   ความรู้  เป็นคู่มือ  
เพื่อยึดถือ   เอาไว้   ใช้เลี้ยงกาย

พ่อกับแม่   มีแต่   จะแก่เฒ่า
จะเลี้ยงเจ้า       เรื่อยไป   นั้นอย่าหมาย
ใช้วิชา   ช่วยตน   ไปจนตาย
เจ้าสบาย   แม่กับพ่อ   ก็ชื่นใจ

ถึงแม้จน   ทนได้   ไม่ทุกข์หนัก
เท่าลูกรัก   ประพฤติตน   เป็นคนชั่ว
ลูกกี่คน   ทนเลี้ยงได้   ไม่หมองมัว
ไม่โศกเศร้า   เท่าลูกตัว   ชั่วระยำ

พ่อแม่ส่ง   ให้ลูกเรียน   เพียรอุส่าห์
พ่อแม่ฟันฝ่า   อุปสรรค์   แสนหนักเหลือ
พ่อแม่ตั้งหน้า   หาทุน   มาจุนเจือ
พ่อแม่ทำเมื่อ  ลูกเจริญ   เดินก้าวไกล


พ่อแก่   แม่เฒ่า

พ่อแม่ก็แก่เฒ่า  จำจากเจ้าไม่อยู่นาน

จะพบจะพ้องพาน   เพียงเสี้ยววานของคืนวัน
ใจจริงไม่อยากจาก  เพราะยังอยากเห็นลูกหลาน
แต่ชีพมิทนนาน ต้องร้าวรานสลายไป
ขอเถิดถ้าสงสาร   อย่ากล่าวขานให้ช้ำใจ
คนแก่ชะแรวัย  คิดเผลอไผลเป็นแน่นอน
ไม่รักก็ไม่ว่า   เพียเมตตาช่วยอาทร
ให้กินและให้นอน  คลายทุกข์ผ่อนพอสุขใจ
เมื่อยามเจ้าโกรธขึ้ง   ให้นึกถึงเมื่อเยาว์วัย
ร้องไห้ยามป่วยไข้    ได้ใครเล่าเฝ้าปลอบโยน
เฝ้าเลี้ยงจนตัวใหญ่  แม้เหนื่อยกายก็ยอมทน
หวังเพียงจะได้ผล   เติบโตจนสง่างาม
ขอโทษถ้าทำผิด   ขอให้คิดทุกทุกยาม
ใจแท้มีแต่ความ  หวังติดตามช่วยอวยชัย
ต้นไม้ที่ใกล้ฝัง   มีหรือหวังอยู่นานได้
วันหนึ่งคงล้มไป  ทิ้งฝั่งไว้ให้วังเวง
อาจารย์ สุทรเกตุ


พระคุณของแม่


พระ อรหันต์   ชั้นอุดม   หรือพรหมเมศร์
คุณ วิเศษ   มิได้ใหญ่   ไปกว่าแม่
ของ แม่ใหญ่    ใกล้ชิด   ติดลูกแจ
แม่ จ๋าแม่    ลูกนี้คิด   เป็นนิตย์เอย


รักของแม่

รักใดเล่า    รักแน่   เท่าแม่รัก
ผู้กสมัคร    รักมั่น  ไม่หวั่นไหว
ห่วงใดเล่า   เท่าห่วง  ดังดวงใจ
ที่แม่ให้    กับลูก    อยู่ทุกครา

ยามลูกขื่น   แม่ขม   ตรมหลายเท่า
ยามลูกเศร้า   แม่โศก    วิโยคกว่า
ยามลูกหาย   แม่ห่วง    ดังดวงตา
ยามลูกมา   แม่หมด   ลดห่วงใย

ยามมีกิจ   หวังให้เจ้า   เฝ้ารับใช้ 
ยามป่วยไข้  หวังให้เจ้า    เผ้ารักษา
ยามถึงคราว   ล่วงลับ   ดับชีวา
หวังให้เจ้า   เฝ้าปิดตา    เวลาตาย  


ไม่มีใครรักเราเท่าแม่

รักของใคร  หรือจะแท้   เท่าแม่รัก
ผูกสมัคร    สายเลือด   ไม่เหือดหาย
คนอื่นรัก   ยังประจักษ์   ว่ารักคลาย
จืดจางง่าย   ไม่จีรัง   ดังมารดา

รักใด    ชูไว้  เหนือรักอื่น
เป็นรักรื่น   ไร้ราคี   โลกีย์วิสัย
รักมิใช่     เพื่อนตน    หรือสนใจ
คำนึงถึง   กำไร   และขาดทุน

รักใด   หยัดยืน   เมื่ออื่นล้ม
รักน่าชม     สุกใส     ไม่ข้นขุ่น
รักนั้นคือ   รักแท้   แม่การุณ
มอบแก่กุล-     บุตร ธิดา   ผู้ยาใจ



แม่....ผู้ให้กำเนิด

แม่มิเพียง   ให้แต่   กำเนิดลูก
จิตท่านผูก   เฝ้าถนอม  เป็นจอมขวัญ
แม่มิเพียง    เลี้ยงลูกให้    ใหญ่เท่านั้น
แม่เพียงสรรค์   สร้างนิสัย   ให้ลูกดี

แม่มิเพียง ให้สมบัติ   พัสถาน
ให้ลูกมี    วิชาการ   โอฬารศรี
เพื่อลูกได้     ใช้ดำรง    ทรงชีวิ
บนวิถี       ของมนุษย์    อันสุดไกล

แม้มิเพียง    สุดอาทร   ใจร้อนร้าว
เมื่อลูกคราว    โรคเบียน    เวียนเจ็บไข้
ครั้นลูกหาย    คลายโศก    สร้างโรคภัย
แม่จึงใจ   หายห่วง    บ่วงกังวล


รักแท้....เพื่อลูกรัก

แม่จ๋าแม่   ความรักแม่   นี้แน่นัก
คุณแม่รัก   ลูกของแม่   มาแต่ต้น
รักของแม่    มิได้มี    ราคีปน
มีหรือจน     แม่รักอยู่    ไม่รู้จาง

รักของใคร    ไม่เท่าศักดิ์   รักของแม่
รักแม่แท้      แม่รักอยู่   ไม่รู้สร่าง
ศัตรูร้าย    ก้ไม่กราย   มากั้นกาง
ถึงรักนาง     รักนาย    ก็ไม่เกิน

แม่รักยศ    รักศักดิ์    อัครฐาน
หรือรักงาน   สารพัน     รักสรรเสริญ
รักสนุก   ทุกสถาน     สำราญเทอญ
รักไม่เกิน    รักแม่   รักแท้เอย


ผู้เสียสละอย่างยิ่งใหญ่

เมื่อลูกใหญ่    วัยถ้วน  ควรศึกษา
แม่ก็พา    ลูกรัก   ไปฝากให้
จะเสียทุน   หนุนค่า   วิชาไป
ถ้ามิให้    แล้วไม่ขัด    เป็นสัตย์จริง

ถึงไม่มี  บางที   ก็กู้เอา 
จะหนักเบา    ยอมลูก   ไม่ทุกสิ่ง
สู้ตรากตรำ    ทำการ   งานจริงจริง
เพื่อแลกสิ่ง    ทรัพย์ได้    มาให้เรา

เมื่อลูกเสร็จ   การศึกษา    วิชาเชี่ยว
แม่คนเดียว     ดีใจ    ใครจะเท่า
พอลูกหา      ทรัพย์ได้      ใจท่านเบา
เพราะท่านเฝ้า    ปลูกฝัง   หวังให้ดี


จารึกพระคุณแม่
พระคุณแม่    นั้นประมาณ   ไม่สิ้นสุด
แม้สมมติ   เอาแผ่นดิน   สิ้นแห่งหน
เป็นหมึกก้อน   ฝ่อนละลาย    ในสายชล
ให้ทั่วหน   แห่งสมุทร    สุดนที

แล้วเอาเขา    พระสุเมรุ   ที่เด่นหล้า
เอาปากกา  จุ่มหมึก   บันทีกที่
เอาท้องฟ้า   เป็นกระดาษ  วาดคดี
แล้วเขียนชี้    ชมบุญ   คุณมารดา

เขียนจนสิ้น   ดินฟ้า    มหาสมุทร
เขียนจนสุด    พระสุเมรุ     ที่เด่นหล้า
แต่ไม่สุด    สิ้นบุญ    คุณมารดา
จึงนับว่า    ใหญ่ยิ่ง    สิ่งทั้งปวง

คัดลอกมาจาก http://www.kru-somsri.ac.th/board/index.php?topic=2563.0;wap2